ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อคเพื่อการเรียนรู้ของ นางสาวสุภาภรณ์ บุญจิตร




ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาวสุภาภรณ์ บุญจิตร

เกิดวันที่ 16 ธันวาคม 2530

อายุ 23 ปี

บิดาชื่อ นายประสิทธิ์ บุญจิตร

มารดาชื่อ นางแอ๋ว กลิ่นจันทร์หอม

ที่อยู่ 7/1 หมู่ 10 ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000

เบอร์โทรศัพท์ 089-2530816

สถานที่ทำงาน โรงพยาบาลระยอง ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการ

เบอร์โทรศัพท์ 0-3861-1104 ต่อ 2300-1

ปัจจุบัน กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์




คำถามท้ายบทที่ 1

1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

ตอบ

- เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ตัวอย่าง มีการจัดการสารสนเทศเป็นอย่างดีเพื่อให้ง่ายต่อการ รวบรวม ค้นหา ฯลฯ

- เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ตัวอย่าง มีความสำคัญในการดำเนินกิจการ ช่วยในการตัดสินใจ เพื่อให้องค์กรสามารถสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้

- ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน

- ฐานความรู้ คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้ ตัวอย่าง

ตัวอย่าง ในชีวิตประจำวันเราใช้เทคโนโลยีในด้านคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ในการดำเนินกิจกรรม การประกอบอาชีพ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทุกด้านในการปฏิบัติงาน มีการจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล ฐานความรู้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่อไป

2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

ตอบ

(1) ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ

(2) ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวันซึ่งเรียกว่างานควบคุมการดำเนินงาน

(3) ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่างานควบคุมการจัดการ

(4) ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์

3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง

ตอบ

(1) ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆ ของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น คือเพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง

(2) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจ ดำเนินการ ควบคุม ติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร

(3) ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ

(4) ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ๆ ของสินค้าและบริการรวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นการให้บริการสารสนเทศ

ตัวอย่าง เราจะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีในสมัยนี้ก้าวหน้าไปมาก ไม่ว่าจะดำเนินกิจการใดเราก็จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของสารสนเทศด้วยกันทั้งนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วและช่วยให้เราสามารถทำกิจการได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

คำถามท้ายบทที่ 2

1.อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

- อุปกรณ์รับข้อมูลเข้ามีหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ คือ

1. แป้นพิมพ์ (Keyboard)

2. เมาส์ (Mouse)

3. แทร็กบอล (Track Ball)

4. จอยสติก (Joy Stick)

5. เครื่องอ่านบาร์โค๊ด (Bar Code Reader)

6. สแกนเนอร์ (Scanner)

7. เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (Optical Character Reader: OCR)

8. เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR)

9. ปากกาแสง (Light Pen)

10. จอสัมผัส (Touch Screens)

11. กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera)

12. ไมโครโฟน (Microphone)

2. อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผลดังนั้นตลอดการประมวลผลจึงมีการติดต่อประสานงานกันระหว่างหน่วยประมวลผลกับหน่วยความจำอยู่ตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การเรียกใช้โปรแกรมหรือข้อมูลสามารถทำได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องและถูกต้องเป็นขั้นตอน และประกอบไปด้วย

1. หน่วยควบคุม (Control Unit)

2. หน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน (Main Memory or Internal Memory)

3. หน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน (Main Memory or Internal Memory)

· หน่วยความจำถาวร (ROM: Read Only Memory)

· หน่วยความจำแบบชั่วคราวหรือแบบแก้ไขได้ (Random Access memory: RAM)

- เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)

- จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk)

- จานแม่เหล็กแบบอ่อนหรือดิสก์เก็ต (Floppy Disk: Diskette)

- ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)

- ซีดีรอม (CD-ROM: Compact Disk Read Only Memory)

- ซีดี- อาร์ (CD-R: CD-Recordable)

- วอร์มซีดี (WORM CD: Write One Read Many CD)

- เอ็มโอดิสก์ (MO: Magneto Optical Disk)

- ดีวีดี (DVD: Digital Versatile Disk)

3.อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

- อุปกรณ์แสดงผล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ

1. จอภาพ (Monitor)

2. เครื่องพิมพ์ (Printer)

3. เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์

4. เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ลำโพง

คำถามท้ายบทที่ 3

1.ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกี่ส่วน คืออะไรบ้าง

ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วน คือ

1.ข้อมูล เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อบุคคลและองค์กร ข้อมูลแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้

1.1 ข้อมูลทั่วไป

1.2 ข้อความ

1.3 ภาพ

1.4 เสียง

1.5 Tactile Data

1.6 ข้อมูลจากเครื่องรับรู้ ได้จากเครื่องรับรู้ต่างๆที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์

2. การจัดเก็บ เน้นการจัดข้อมูลให้อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกต่อการเรียกใช้งาน

3. เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล เครื่องมือที่ใช้ คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

4. การประมวลผล คือ การแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการนำมาใช้งาน

5. สารสนเทศ เป็นผลผลิตของระบบสารสนเทศที่มีคุณสมบัติถูกต้อง ตรงความต้องการ ทันเหตุการณ์ สมบูรณ์ครบถ้วน กะทัดรัด

2.ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล

- การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Processing ) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผล เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อง

3.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง

- สามารถจำแนกวิธีการประมวลผลตามลักษณะเครื่องมือที่ใช้ ได้ 3 วิธี คือ

1. การประมวลผลด้วยมือ ( Manual Data Processing ) เป็นวิธีดั้งเดิม วิธีการประมวลผลไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณไม่มาก และไม่เร่งด่วน มีการนำอุปกรณ์ธรรมดามาช่วย เช่น การใช้ลูกคิด กระดาษ ปากกา

2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล ( Mechanical Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่อาศัยเครื่องจักรกลมาทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำหรับการ ประมวลผลด้วยมือ เช่น เครื่องทำบัญชี

3. การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Processing ) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผล เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อง

4.หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์

- บิต (Bit) Binary Digit เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลที่ใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์

5.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่

หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถจัดเรียงเป็นลำดับชั้น จากขนาดเล็กไปขนาดใหญ่ได้ดังนี้
- บิต (bit) เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
- ตัวอักษร (character) กลุ่มข้อบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระASCII 1 ไบต์ (8 บิต) แทน 1 ตัวอักษร
- เขตข้อมูล (field) เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
- ระเบียน (record) คือโครงสร้างข้อมูลที่แทนตัววัตถุชิ้นหนึ่ง เช่น ระเบียนนักเรียน
- แฟ้ม (file) ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
- ฐานข้อมูล (database) กลุ่มของตารางที่มีความสัมพันธ์กัน

คำถามท้ายบทที่ 4

1.สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

ข้อดี
- ราคาถูก
- เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งน้อย

-สามารถส่งข้อมูลที่มีปริมาณเยอะ ๆ ได้เร็วมาก

-ข้อมูลที่ได้รับจึงมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีสัญญาณรบกวนน้อย

-ข้อมูลมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากไม่มีการแผ่สัญญาณออกไปทำให้ผู้อื่นดักจับ สัญญาณได้ยาก

ข้อเสีย

- มีข้อจำกัดเรื่องความยาวของสายสัญญาณ

-ไม่สามารถโค้งงอสายเคเบิลได้ตามความต้องการ ดังนั้นผู้ที่จะทำหน้าที่เดินเคเบิลใยแก้วนำแสงจะต้องเป็นผู้ที่ชำนาญและมีประสบการณ์เท่านั้น

- ค่าดำเนินการในการติดตั้งสายเคเบิลมีราคาแพง

2.สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

ข้อดี

- เป็นระบบไร้สายจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสาย
- ไม่มีปัญหาเรื่องสายขาด
- มีค่าแบนด์วิดธ์สูง ซึ่งมีผลทำให้อัตราความเร็วการส่งข้อมูลสูงด้วย

ข้อเสีย

- เป็นสื่อกลางที่ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
- ค่าติดตั้งจานและเสาส่งมีราคาแพง
- การใช้งานต้องขอใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร แสงอินฟาเรด

3.PAN และ SAN คืออะไรจงอธิบาย

PAN คือ "ระบบการติดต่อไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network เรียกว่าBluetooth
- Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a
- Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1a
- Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4a

เทคโนโลยี เหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้ ถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวีดีโอที่มีความละเอียดสูงได้

ส่วน SAN เป็น ระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้

ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ